บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

คำว่า “ธรรมกาย” ไม่มีในศาสนาพุทธ

วิชาธรรมกายถูกโจมตีมานานแล้ว  ตั้งแต่หลวงพ่อวัดปากน้ำเริ่มเผยแพร่คำสอนของท่าน จนมาถึงกระทั่งทุกวันนี้

เมื่อบุคลากรของวัดพระธรรมกายทั้งวัด ช่วยกันทำเรื่องอื้อฉาวอยู่เรื่อยๆ  คนก็โจมตีวัดพระธรรมกายและก็แถมโจมตีวิชาธรรมกายเข้าไปด้วย

คำโจมตีนั้นมีมากมายมหาศาล  ในวันนี้ผมจะนำเสนอคำถามซึ่งเป็นคำถามยอดฮิตในการโจมตีวิชาธรรมกายก็คือ “คำว่า ธรรมกาย ไม่มีในพระไตรปิฎก

พวกเกลียดวิชาธรรมกายทั้งหลาย  จำนวนมากเลย ไม่รู้จักวิชาธรรมกาย ไม่เคยอ่านหนังสือวิชาธรรมกาย และไม่เคยปฏิบัติธรรมแบบวิชาธรรมกายเลย แต่เกลียดท่านธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย

ก็เลยแถมการเกลียดวิชาธรรมกายเข้าไปด้วย

พวกนี้ จำนวนมากเลย ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองว่า คำว่า “ธรรมกาย” ไม่มีในพระไตรปิฎก วิชาธรรมกายไม่มีในพระไตรปิฎก และก็เชื่อไปอย่างนั้น

ไม่ยอมรับความรู้หรือหลักฐานใดๆ จากกลุ่มลูกศิษย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ

ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ใครเป็นต้นคิดของคำถามที่ว่า คำว่า “ธรรมกาย” ไม่มีในพระไตรปิฎก

ผมขอตอบเลยทันที เพราะ ติดตามเรื่องนี้มาตลอด นับเป็นสิบปีมาแล้ว  ในช่วงแรกๆ ผมก็อ่าน และแย้งในใจว่า “คำว่า ธรรมกาย น่าจะมีในพระไตรปิฎก”  แต่ไม่กล้าโต้แย้งอะไร เพราะ ความรู้ไม่มากพอ

ตอนนั้น ความรู้แค่จบปริญญาตรีเอกภาษาไทย วิชาโทภาษาอังกฤษ จากวิทยาลัยครูนครสวรรค์ 

ผมตามเรื่องนั้นมาจนกระทั่งจบปริญญาโท ภาษาศาสตร์จากธรรมศาสตร์ ก็รู้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่กล้าโต้แย้ง เพราะ ความรู้ยังไม่พอ  แต่เรื่องวิชาธรรมกาย ผมเห็นกายธรรมแล้ว

จนกระทั่งใกล้จบปริญญาเอก ผมถึงเริ่มโต้แย้งขึ้นมาบ้าง เพราะ ตอนนั้น ความรู้มากขึ้นแล้ว  มากขึ้นจนเขียนหนังสือ “นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตาหรืออนัตตา?: มุมมองสหวิทยาการ” ได้เล่มหนึ่ง

คนที่เอาเรื่องนี้มาพูดเป็นคนแรกก็คือ พระประยุทธ์/พระธรรมปิฎก/พระพรหมคุณาภรณ์

พระประยุทธ/พระธรรมปิฎก/พระพรหมคุณาภรณ์เป็นคนแรกที่กล่าวหาวิชาธรรมกายว่า คำว่า “ธรรมกาย” ไม่มีในพระไตรปิฎก

แต่ต่อมา ลูกศิษย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำไปค้นแล้วพบว่า คำว่า “ธรรมกาย” มีมากมายมหาศาลในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา

ไม่ว่าจะเป็นหินยาน หรือมหายาน

ลองไปอ่านหลักฐานต่างๆ ที่ผมรวบรวมไว้ที่นี่ก็ได้

หลักฐานวิชาธรรมกาย     http://evidencethammakai.blogspot.com 
พระประยุทธ์/พระธรรมปิฎก/พระพรหมคุณาภรณ์ก็เลยไม่กล้ากล่าวหาเช่นนั้นอีก  แต่บรรดาสมองหมา ปัญญาควายทั้งหลาย ไม่ได้รู้ความเป็นมาอันนี้ ก็เอามาโจมตีตลอด

ประเด็นสำคัญที่ควรนำขึ้นมาพิจารณา ก็คือ ข้อความโจมตีและเป็นคำถามที่ว่า “คำว่า “ธรรมกาย” ไม่มีในพระไตรปิฎก” ของพระประยุทธ์/พระธรรมปิฎก/พระพรหมคุณาภรณ์นั้น

ถูกต้องหรือไม่

ผมฟันธงไปเลย ข้อความโจมตีและเป็นคำถามที่ว่า “คำว่า “ธรรมกาย” ไม่มีในพระไตรปิฎก” ของพระประยุทธ์/พระธรรมปิฎก/พระพรหมคุณาภรณ์ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการแต่ประการใด

พระประยุทธ์/พระธรรมปิฎก/พระพรหมคุณาภรณ์นี้ ก็รู้อยู่แก่ใจ  แต่ความอยากดังของท่าน ท่านต้องการจะโจมตีวิชาธรรมกายท่านก็เสกสรรปั้นเรื่องขึ้นมา


ต่อไป ผมจะเสนอหลักฐานที่ว่า พระประยุทธ์/พระเปลืองข้าวสุกประชาชนรูปนี้ รู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี  หลักฐานดังกล่าว เอามาจากหนังสือของพระรูปนี้เอง  ดังนี้ 

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[166] มหาปเทส 4 ๑ (ที่อ้างอิงข้อใหญ่, หลักใหญ่สำหรับอ้างเพื่อสอบสวนเทียงเคียง หมวดที่ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป)

1. หากมีภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

2. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

3. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต ถึงอาคม (คือชำนาญในพุทธพจน์ทั้ง 5 นิกาย) ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

4. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต ถึงอาคม ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

เธอทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะ (ทั้งข้อความและถ้อยคำ) เหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตรเทียบดูในวินัย

ก. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้นพระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) ถือไว้ผิด พึงทิ้งเสีย

ข. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่แท้ ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) รับมาด้วยดี


จะเห็นได้ว่า ในการตรวจสอบว่า “สิ่งใด” เป็นคำสอนของศาสนาพุทธหรือไม่ ให้ตรวจสอบไปที่ความหมายหรือการตีความว่า “สอดคล้อง” กับพระธรรม พระวินัยหรือไม่

ไม่ใช่ไปตรวจสอบที่คำว่า “ธรรมกาย”  อย่างที่พระรูปนี้ทำ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น