บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

สรุป



ข้อความโจมตีที่ว่า “วิชาธรรมกายไม่มีในพระไตรปิฎกนั้น” ใช้ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง  ผมขอเสนอหลักฐานสนับสนุนด้วยเหตุผล 2 ประการนี้

1) เหตุผลบ้านๆ โดยทั่วไป

ผู้ที่โจมตีวิชาธรรมกายด้วยข้อความดังกล่าว คือ พระพรหมคุณาภรณ์/พระธรรมปิฎก/พระประยุทธ์/พระเปลืองข้าวสุกประชาชน 

ต่อมา ลูกศิษย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำค้นคว้าหลักฐานจากคัมภีร์ต่างๆ และพบว่า มีคำว่า “ธรรมกาย” ในคัมภีร์ของศาสนาพุทธเป็นจำนวนมาก ทั้งมหายานและหินยาน

พระพรหมคุณาภรณ์/พระธรรมปิฎก/พระประยุทธ์/พระเปลืองข้าวสุกประชาชนก็หน้าแตก ไม่เอาข้อความดังกล่าวมาโจมตีอีก  แต่ด้วยความจังไรในกมลสันดานของท่าน ท่านก็ไม่ยอมขอโทษหรือแก้ไข

พวกสมองหมาปัญญาควายก็จำเอามาใช้ โดยไม่รู้ที่มาที่ไป

2) เหตุผลในทางวิชาการ

พระพุทธองค์ทรงกำหนดเกณฑ์/มาตรฐาน/ตัวชี้วัดไว้แล้วว่า สิ่งใดเป็นคำของพระพุทธองค์หรือไม่ นั่นก็คือ หลักมหาประเทส 4

มหาประเทส 4 อยู่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ 121-123  แต่มีความยาวมาก

ดังนั้น จึงขอยกหลักมหาปเทส 4 จากหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์/พระธรรมปิฎก/พระประยุทธ์/พระเปลืองข้าวสุกประชาชนแทน ดังนี้

[166] มหาปเทส 4 ที่อ้างอิงข้อใหญ่, หลักใหญ่สำหรับอ้างเพื่อสอบสวนเทียงเคียง หมวดที่ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป

1. หากมีภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

2. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

3. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต ถึงอาคม (คือชำนาญในพุทธพจน์ทั้ง 5 นิกาย) ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

4. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต ถึงอาคม ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

เธอทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะ (ทั้งข้อความและถ้อยคำ) เหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตรเทียบดูในวินัย

ก. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้นพระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) ถือไว้ผิด พึงทิ้งเสีย

ข. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่แท้ ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) รับมาด้วยดี

โดยสรุป คือ การยกข้ออ้างหรือหลักฐาน 4 คือ
1. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง)
2. สังฆาปเทส (ยกเอาพระสงฆ์ขึ้นอ้าง)
3. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง)
4. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง)

ดังนั้น ไม่ว่าใครจะอ้างพระไตรปิฎกว่า “มาจากไหน ไม่สำคัญ”  ที่สำคัญก็คือ ตรวจสอบด้วยการตีความว่า “ตรงกับพระไตรปิฎกหรือไม่

การตรวจสอบดังกล่าวนั้น สามารถทำได้ด้วยหลักการของทางภาษาศาสตร์ (Linguistics) มีหลายทฤษฎีเลย ที่สามารถทำได้อย่างดี

จะเห็นได้ว่า เมื่อใช้หลักฐานของมหาประเทส 4 เป็นเกณฑ์/มาตรฐาน/ตัวชี้วัดแล้ว  วิชาธรรมกายถูกต้องตรงตามพระไตรปิฎกทุกประการ

พระสูตรต่างๆ ที่ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจไม่หมดก็สามารถอธิบายได้ด้วยวิชาธรรมกาย ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

ขอให้การสอนเด็กอนุบาลในวิดิโอด้านบน..

3) เหตุผลที่น่าคิด

เมื่อพิจารณาข้อความที่ว่า “วิชาธรรมกายไม่มีในพระไตรปิฎกนั้น” นั่นก็หมายความว่า คนที่โจมตีนั้น มีมาตรฐานในใจว่า “อะไรที่ไม่มีในพระไตรปิฎกใช้ไม่ได้

ที่นี้ การที่ พระพรหมคุณาภรณ์/พระธรรมปิฎก/พระประยุทธ์/พระเปลืองข้าวสุกประชาชน ไปใช้วิธีการตรวจสอบคำว่า “ธรรมกาย” ไม่มีในพระไตรปิฎก

มันก็ใช้ไม่ได้ด้วย...............

ขอให้ผู้อ่าน ตั้งใจอ่านและคิดให้ดีว่า เกณฑ์ที่ว่า “สิ่งใดไม่มีในพระไตรปิฎก สิ่งนั้นก็ใช้ไม่ได้” นั้น ก็ไม่มีในพระไตรปิฎกเช่นเดียวกัน

ก็ในเมื่อตัวเกณฑ์เอง ก็ไม่มีในพระไตรปิฎก แล้วจะใช้เกณฑ์นั้นไปจับผิดคนอื่นได้อย่างไร








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น