บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ลูกควาย Abhirakk


กระทู้ “วิชาธรรมกายไม่เป็นศาสนาพุทธเถรวาทเพราะอะไร?” ในห้องศาสนาของพันธุ์ทิพย์นั้น มีคนเข้ามาร่วมให้ความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก

มีทั้งควายตัวจริงเสียงจริง และบรรดาลูกควายทั้งหลาย

บรรดาลูกควายก็คือ ยังไม่โง่นัก ยังพอจะมีความฉลาดอยู่บ้าง  ลูกควายตัวแรก ที่น่าสนใจที่จะนำมาวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปก็คือ คุณ Abhirakk ดังนี้

ความคิดเห็นที่ 9

สิ่งที่เราเชื่อ เราก็เชื่อไป ไม่ต้องมาชี้ชวน ธรรมะที่แท้ไม่สาธารณแก่ใครๆ อยู่แล้ว แล้วแต่การสั่งสมมา

ข้อความดังกล่าวนั้น อ่านแล้วแปลกๆ ทะแม่งๆ ชอบกล 

ปกติไม่ว่าจะเป็นสายปฏิบัติธรรมใด หรือพวกปริยัติ  ถ้าเขาเห็นว่า ของเขาดี เขาก็เผยแพร่แนวทางของเขา เพื่อให้คนอื่นได้มาร่วมบุญบารมีด้วย

พระพุทธเจ้าก็ทรงทำแบบนั้น ส่งพระสาวกออกไปเผยแพร่ด้วย พระเจ้าอโศกก็ทรงทำแบบนั้น คุณ Abhirakk คนนี้มาแปลก 

เชื่อแล้วให้อยู่เฉยๆ  แล้วจะ “เชื่อ” ไปทำไมกัน

นิกายเถรวาท คือ เถระ+วาทะ คือการเคารพสิ่งที่พระเถระได้ประมวลไว้ทุกตัวอักษร เรียกว่ามีแค่ไหน เอาแค่นั้น ไม่แต่งเติม เพิ่มเติมเหมือนนิกายอื่น

เมื่อมีข้อสงสัยในความบริสุทธิ์ของพระไตรปิฏก ก็จะทำสังคายนา คือการชำระสิ่งที่ปลอมปนออกไป

เพื่อให้พระไตรปิฏกที่เปรียบเสมือนธรรมนูญสูงสุด เกิดความหมดจด และบริสุทธิ์ดังเดิม

โน่น......ไปถึงการสังคายนาพระไตรปิฎก  เว่อร์...ไปซะแล้ว

เรื่องวิชาธรรมกายนั้น ใช้หลักมหาประเทส 4 ก็พอแล้ว  ไม่ต้องถึงกับต้องจัดสังคายนากันใหม่หรอก

คำว่า “ธรรมกาย” มีอยู่ในพระไตรปิฏก ไม่ขอเถียง แต่ต้องพิจารณาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าคือสิ่งใด

ขอย้ำว่า ต้องเข้าใจให้ถ่องแท้

นี่...เจอแล้ว 1 คน ถึงไม่เห็นด้วยกับวิชาธรรมกาย แต่ก็ยอมรับว่า “ธรรมกาย” มีอยู่ในพระไตรปิฎก ดังนั้น ไอ้พวกสมองหมา ปัญญาควายที่เข้าใจผิดในประเด็นนี้ มันน่าจะเข้าใจถูกเสียที

คำว่า “ธรรมกาย” ไม่ใช่สิ่งที่เอามาพูดพร่ำเพรื่อ ให้กลายเป็นแนวปฏิบัติ “บ้าๆบอๆ” หรือ “เลอะเทอะ”

อ้าว........ มาถึงตรงนี้ ลูกควาย Abhirakk ก็แสดงธาตุแท้เสียแล้ว

ตรงนี้ ถ้า ลูกควาย Abhirakk เข้าใจดี ก็ต้องเอาหลักมหาประเทส 4 ขึ้นมาว่ากัน  แต่นี่ ปฏิเสธดื้อๆ  แบบควายๆ เสียแล้ว

หากอยู่ในแนวทางของเถรวาทแล้ว แนวดังที่กล่าวมา ย่อมมีไม่ได้

เพราะเมื่อพิจารณาสอบกลับไปกลับมา จะพบว่า ในพระไตรปิฏกเถรวาท ไม่มีแนวปฏิบัติแบบธรรมกาย เพื่อไปค้นหา “ต้นธาตุ ต้นธรรม” บ๊องส์ๆอะไรนั่น

ก็ในเมื่อเราผู้ซึ่งถือเอาแนวปฏิบัตินิกายเถรวาทอยู่ จึงทำให้แน่ใจอย่างมาก และมากที่สุดด้วยว่า ธรรมกาย คือสัทธรรมปฏิรูป!!!

และวิชชาธรรมกายจึงไม่อาจเป็นศาสนาพุทธเถรวาทได้ ดังที่ได้วิสัชนา ตามคำถามที่ท่านถามไว้ครับ

พอเห็นลูกควาย Abhirakk ฟันธงไปเลยว่า “วิชชาธรรมกายจึงไม่อาจเป็นศาสนาพุทธเถรวาทได้” โดยไม่กล่าวถึงมหาประเทส 4 

ผมก็สามารถฟันธงได้เหมือนกันว่า ลูกควาย Abhirakk คงได้โตเป็นควายแน่

นอกจากมหาประเทส 4 แล้ว ยังมี สีสปาสูตร อีกพระสูตรหนึ่ง ที่ยืนยันในด้านหลักการได้ว่า วิชาธรรมกายมีจริงในพระพระไตรปิฎก

สีสปาสูตรอยู่ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้าที่ ๔๓๔. ดังนี้

สีสปาสูตร  เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น

[๑๗๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา

แล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระผู้มีพระภาคทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.

พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมากก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก

เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก.

[๑๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ ...นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบ สูตรที่ ๑

คนส่วนใหญ่จะจำชื่อ "สีสปาสูตร" ไม่ได้ แต่จะพูดกันว่า "ใบไม้ในกำมือ"  

จาก  "สีสปาสูตร" หรือเรื่อง "ใบไม้ในกำมือ"  ดังกล่าว  กฎเกณฑ์ที่ว่า "ไม่มีในพระไตรปิฎก" มันก็ใช่ไม่ได้

เมื่อรวมหลักของ "มหาประเทส 4" กับหลักของ "ใบไม้ในกำมือ"  ก็ต้องยอมรับกันว่า วิชาธรรมกายนั้นต้องมาตีความกันก่อนว่า สอดคล้องกับพระสูตรพระวินัยหรือไม่

ไม่ใช่มาปฏิเสธกันแบบบ้าๆ บอๆ แบบสมองหมา ปัญญาควายที่ปัญญาอ่อนว่า "คำว่าธรรมกายไม่มีในพระไตรปิฎก" เพราะ คำว่า "ธรรมกาย" มีอยู่ในพระไตรปิฎกและมีมากด้วย..






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น